เศรษฐกิจและการค้าขายในสมัยกรุงธนบุรี

images

         ช่วงต้นรัชกาล สภาพบ้านเมืองเสียหายจากการสงครามอย่างหนัก เกิดทุพภิกขภัยครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย   เนื่องจากขาดการทำนามานาน ราคาข้าวในอาณาจักรสูงเกือบตลอดรัชกาล ก่อนจะค่อย ๆ ลดลงในตอนปลายรัชกาล จะมีเพิ่มสูงขึ้นบ้างก็ในปี พ.ศ. 2312 ที่เกิดหนูระบาด สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงสละทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อข้าวมาให้แก่ราษฎรทั้งหลาย ช่วยคนได้หลายหมื่น ทั้งยังกระตุ้นให้ชาวบ้านทั้งหลายเข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงด้วย

          นอกจากนี้ พระองค์ยังได้ทรงทำนุบำรุงการค้าขายทางเรือกับต่างชาติ เนื่องจากไม่อาจพึ่งรายได้จากภาษีอากรจากผู้คนที่ยังคงตั้งตัวไม่ได้ อีกทั้งการส่งเสริมการขายสินค้าพื้นเมืองยังเป็นการสร้างงานให้กับชาวบ้าน โดยพระองค์ได้ทรงพยายามผูกไมตรีกับจีนเพื่อที่จะให้เกิดประโยชน์ทางการค้ามากยิ่งขึ้น

          ผลดีประการหนึ่งของสงครามคราวเสียกรุงคือมีผู้คนอพยพมาสร้างความเจริญแก่ท้องที่อื่นให้ดีขึ้นกว่าสมัยอยุธยามาก กรุงธนบุรีได้กลายมาเป็นเมืองท่าที่สำคัญที่สุดของไทยแทนกรุงศรีอยุธยาเดิมที่ถูกเผาทำลายไป และเนื่องจากเมืองมะริดและตะนาวศรีได้ตกเป็นของพม่าอย่างถาวร จึงทำให้เมืองถลางได้กลายเป็นเมืองท่าสำคัญในการค้าขายกับต่างชาติทางฝั่งทะเลอันดามันแทน โดยในสมัยอยุธยามีความสำคัญเป็นเมืองท่าลำดับสอง และมีดีบุกเป็นจำนวนมาก เช่นเดียวกับเมืองไชยาและเมืองสงขลาที่เจริญก้าวหน้ากว่าในสมัยอยุธยาเดิม ชาวต่างชาติยังเขียนอีกว่า ท้องที่ใดมีชาวจีนอาศัยอยู่มาก ท้องที่แห่งนั้นย่อมเจริญแน่ เพราะคนจีนขยันกว่าคนไทย

03

          ไทยมีรากฐานเศรษฐกิจดี มีภูมิประเทศและภูมิอากาศเอื้อต่อเกษตรกรรม เมื่อเว้นว่างจากศึกสงคราม เสบียงอาหารก็บริบูรณ์ขึ้นดังเดิม ฝ่ายคนจีนและคนไทยบางส่วนได้เอาเงินและทองที่บรรพชนเก็บไว้ในพระพุทธรูปไป บ้างก็ทำลายพระพุทธรูปและพระเจดีย์เสียเพื่อเอาเงิน บาทหลวงคอร์ระบุว่า “การที่ประเทศสยามกลับตั้งแต่ได้เร็วเช่นนี้ ก็เพราะความหมั่นเพียรของพวกจีน ถ้าพวกจีนไม่ใช่เป็นคนมักได้แล้ว ในเมืองไทยทุกวันนี้คงไม่มีเงินใช้เป็นแน่”

การค้าขาย

ครั้นเมื่อพระเจ้ามังระแห่งอาณาจักรพม่าทรงทราบข่าวเรื่องการกอบกู้เอกราชของไทย พระองค์จึงมีพระบรมราชโองการให้เจ้าเมืองทวายคุมกองทัพมาดูสถานการณ์ในดินแดนอาณาจักรอยุธยาเดิม เมื่อปลาย พ.ศ. 2310 แต่ก็ถูกตีแตกกลับไปโดยกองทัพธนบุรี ซึ่งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงนำทัพมาด้วยพระองค์เอง

ต่อมา สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงโปรดให้จัดเตรียมกำลังเพื่อทำลายคู่แข่งทางการเมือง เพื่อให้เกิดการรวมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ในปี พ.ศ. 2311 ทรงมุ่งไปยังเมืองพิษณุโลกเป็นแห่งแรก ทว่า กองทัพธนบุรีพ่ายต่อกองทัพพิษณุโลก ณ ปากน้ำโพ จึงต้องเลื่อนการโจมตีออกไปก่อน แต่ภายหลังเจ้าพิษณุโลกถึงแก่พิราลัย ชุมนุมพิษณุโลกอ่อนแอลงและตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของเจ้าพระฝางแทน

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้เปลี่ยนเป้าหมายไปยังชุมนุมเจ้าพิมาย เนื่องจากทรงเห็นว่าควรจะปราบชุมนุมขนาดเล็กเสียก่อน กรมหมื่นเทพพิพิธสู้ไม่ได้ ทรงจับตัวมายังกรุงธนบุรี และถูกประหารระหว่างเดือนตุลาคม-เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2311 เมื่อขยายอำนาจไปถึงหัวเมืองลาวแล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพยายามใช้พระราชอำนาจของพระองค์ช่วยให้ นักองราม เป็นกษัตริย์กัมพูชา โดยพระองค์โปรดให้ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เป็นแม่ทัพไปตีกัมพูชา แต่ไม่สำเร็จ

ayutaya

ในปี พ.ศ. 2512 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงมีศุภอักษรไปยังสมเด็จพระนารายณ์ราชา เจ้ากรุงเขมร โดยให้ส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามประเพณี แต่สมเด็จพระนารายณ์ราชาปฏิเสธ พระองค์ทรงขัดเคืองจึงให้จัดเตรียมกองกำลังไปตีเมืองเสียมราฐ และเมืองพระตะบอง อันเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่พระองค์ได้ส่งพระยาจักรีนำกองทัพไปปราบเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อทรงทราบข่าวทัพพระยาจักรีไปติดขัดที่ไชยา จึงทรงส่งทัพหลวงไปช่วย จนตีเมืองนครศรีธรรมราชได้เมื่อเดือน 10 ฝ่ายแม่ทัพธนบุรีในเขมรไม่ได้ข่าวพระเจ้าแผ่นดินมานาน จึงเกรงว่าบ้านเมืองจะไม่สงบ รีบยกกองทัพกลับบ้านเมืองเสียก่อน และทำให้การโจมตีเขมรถูกระงับเอาไว้

ในปี พ.ศ. 2513 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีก็ทรงยกกองทัพขึ้นไปปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง ตีได้เมืองพิษณุโลก และตามไปตีเมืองสวางคบุรี เจ้าพระฝางสู้ไม่ได้ ชุมนุมฝางจึงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรธนบุรี

สังคมและวัฒนธรรมในสมัยกรุงธนบุรี

1. สภาพสังคม
ชีวิตความเป็นอยู่ถือได้ว่ามีการควบคุมกันอย่างเข้มงวดเพราะบ้านเมืองตกอยู่ในสภาวะสงคราม ต้องสู้รบกับพม่าข้าศึกอยู่ตลอดเวลานอกจากนี้ยังมีการเกณฑ์พลเรือนเข้ารับราชการทั้งนี้เพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงและหลบหนีการเกณฑ์แรงาน
2. การฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม
รัชสมัยของพระเจ้าตากแม้จะไม่ยาวนานนักแต่ก็ยังได้ฟื้นฟูปรับปรุงบ้านเมืองในด้านวัฒนธรรมอันมากที่สำคัญมีดังนี้

ดาวน์โหลด

2.1 ด้านศาสนา พระเจ้าตากทรงมีความเลื่อมใสศรัทธาในพระศาสนาอย่างมั่นคงทรงให้มีการชำระความบริสุทธิ์ของสงฆ์ทั้งหมดรูปใดที่ประพฤติไม่ดีให้ศึกออกไปพระองค์ทรงบริจาคทรัพย์ส่วนพระองค์ในการสร้างอุโบสถ และทรงคัดลอกพระไตรปิฎกที่นำมาจากวัดพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราชเมื่อปี 2312
2.2 ด้านศิลปวัฒนธรรม พระเจ้าตากทรงมีภารกิจมากมายโดยเฉพาะการสร้างบ้านเมืองการป้องกันประเทศ และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ จึงทำให้ผลงานในด้านนี้จึงไม่เด่นชัด สาเหตุอีกประการหนึ่งก็คือ บรรดาช่างฝีมือและช่างศิลป์ถูกพม่ากวาดต้อนไปเป็นจำนวนมาก ช่างที่มีอยู่ก็เป็นช่างฝึกหัดไม่อาจเทียบเท่าช่างในอยุธยาได้ ผลงานที่มีคือ วัดแจ้ง (วัดอรุณราชวรราม) และด้านก่อสร้างได้แก่ การสร้างพระราชวังป้อมปราการ เชิงเทิน ขาดความสวยงาม ส่วนทางด้าน วรรณกรรมมีผลงานสำคัญคือ รามเกียรติ์ เป็นต้น
2.3 ด้านนาฏศิลป์ มีการฟื้นฟูและเล่นฉลองในงานพิธีสำคัญตามแบบประเพณีสมัยอยุธยาดังเห็นได้จากพิธีสมโภชพระแก้วมรกตและพระบางซึ่งสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้อันเชิญมาจากเวียงจันทร์เพื่อประดิษฐานที่กรุงธนบุรีซึ่งในครั้นนั้นมีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ใช้เวลา 7 วันมีการประชันการแสดงละคร การแสดงโขน การเล่นมโหรีพิณพาทย์ การเล่นบทดอกสร้อยสัดวาฯ
2.4 ด้านการศึกษา ในสมัยธนบุรียังคงอยู่ที่วัดเหมือนเมื่อสมัยอยุธยานั้นคือการเรียนที่วัดมีพระสอนหนังสือและยังคงใช้แบบเรียนจินดามณีซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องวิธีแต่งกาพย์กลอน ศึกษาศัพท์เขมร บาลีสันสฤตด้วยเพื่อประโยชน์ในการอ่านคัมภีร์พระพุทธศาสนา นอกนั้นก็เป็นวิชาเลขซึ่งนำใช้ในชีวิตประจำวัน สำหรับวิชาชีพพ่อแม่มีอาชีพอะไรก็ถ่ายทอดวิชานั้นให้แก่ลูกหลาน เช่น วิชาแพทย์โบราณ วิชาช่างปั้น ช่างถม ช่างแกะสลัก ช่างปั้นปูน ช่างเหล็กฯ ส่วนเด็กหญิงถือตามประเพณีโบราณคือ การเย็บปักถักร้อย ทำกับข้าว และการฝึกอบรมมารยาทของกุลสตรี สมัยนั้นไม่นิยมให้ผู้หญิงเรียนหนังสือจึงมีน้อยคนนักที่อ่านออกเขียนได้

การเมืองการปกครองและพัฒนาการด้านต่าง ๆ สมัยกรุงธนบุรี

ก่อนกรุงศรีอยุธยาแตกใน พ.ศ. ๒๓๑๐ สมเด็จพระเจ้าตาก (สิน) ซึ่งขณะนั้นยังเป็นพระยาวชิรปราการตีฝ่าวงล้อมพม่าเดินมุ่งหน้าไปทางหัวเมืองชายทะเลตะวันออก และได้รวมผู้คนที่อยู่ในบริเวณนี้ตั้งเป็นชุมนุมโดยยึดเมืองจันทบุรีเป็นฐานทัพ ให้ต่อเรือเตรียมไว้ จนกระทั่งเมื่อสิ้นฤดูมรสุม สมเด็จพระเจ้าตา (สิน) จึงเข้าโจมตีค่ายพม่าที่ธนบุรีและค่ายโพธิ์สามต้นที่อยุธยา และสามารถยึดค่ายนี้ได้ในวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๑๐ การที่สมเด็จพระเจ้าตากสินสามารถยึดธนบุรี และกรุงศรีอยุธยา คืนจากพม่าได้ ทำให้พระองค์มีความชอบธรรมในการสถาปนาพระองค์เองเป็นพระมหากษัตริย์ จึงได้ทรงสถาปนาธนบุรีขึ้นเป็นราชธานีในปีเดียวกัน

การสถาปนาธนบุรีเป็นราชธานี
เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสามารถกู้เอกสารของชาติได้แล้ว ปัญหาสำคัญของไทยในขณะนั้นคือ การป้องกันตนเองให้พ้นจากการโจมตีโดยพม่า และหาอาหารให้พอเลี้ยงผู้คนที่มีชีวิตรอดจากสงคราม แต่สภาพอยุธยาอยุธยาขณะนั้นไม่อาจบูรณะฟื้นฟูได้อย่างรวดเร็วด้วยกำลังคนเพียงเล็กน้อย อีกทั้งพม่าได้รู้ลู่ทางและจุดอ่อนของอยุธยาเป็นอย่างดีแล้ว ดังนั้นพระองค์จำเป็นที่จะต้องหาชัยภูมิที่เหมาะ ในการสถาปนาราชธานีแห่งใหม่คือ กรุงที่ได้รับพระราชทานนามว่า “กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร”
กรุงธนบุรีตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองบางกอกเดิมซึ่งในสมัยอยุธยา เมืองบางกอกมีฐานะเป็น “เมืองท่าหน้าด่าน” คือ เป็นที่จอดเรือสินค้า และเป็นเมืองหน้าด่านทำหน้าที่ป้องกันข้าศึกษาที่ยกทัพเข้ามาทางปากน้ำเจ้าพระยารวมทั้งตรวจตราเก็บภาษีเรือและสินค้าที่ขึ้นล่องตามลำน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง บางกอกจึงมีป้อมปราการ และ มีด่านภาษีเป็นด่านใหญ่ที่เรียกว่า ขนอนบางกอก เมืองบางกอกจึงมีชุมชนชาวต่างชาติ เช่น ชุมชนชาว จีน อินเดียมุสลิม ที่เดินทางมาติดต่อค้าขายและเป็นทางผ่านของนักเดินทาง เช่น นักการทูต พ่อค้า นักการทหาร และนักบวชที่เผยแผ่ศาสนา รวมทั้งนักเผชิญโชคที่ต้องการเดินทางไปยังอยุธยา
ดังนั้นโดยพื้นฐานที่ตั้งของธนบุรีจึงอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มอันอุดมสมบูรณ์ของปากน้ำเจ้าพระยาและเป็นเมืองที่มีความสมบูรณ์ทางเศรษฐกิจมาก่อนตลอดจนเป็นเมืองที่มีความปลอดภัย เพราะมีทั้งป้องปราการและแม่น้ำลำคลองที่ป้องกันไม่ให้ข้าศึกษาโจมตีได้โดยง่าย เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสถาปนาธนบุรีเป็นราชธานี พระองค์โปรดเกล้าให้สร้างพระราชวังเป็นที่ประทับ โดยสร้างพระราชวังชิดกับกำแพงเมืองทางใต้ มีอาณาเขตตั้งแต่ป้องวิชัยประสิทธิ์และวัดท้ายตลาดมาจนถึงวัดแจ้ง วัดทั้งสองจึงเป็นวัดในเขตพระราชฐาน สำหรับวัดแจ้งนั้นมีฐานะเป็นพระอารามหลวง

บุคคลสำคัญในสมัยกรุงธนบุรี

ดาวน์โหลด (1)

สมเด็จพระเจ้าตากสิน

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเป็นสามัญชนโดยกำเนิดในตระกูลแต้ ทรงพระนามเดิมว่า สิน พระราชบิดาเป็นจีนชื่อ ไหฮอง ออกจากประเทศจีนมาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย ได้สมรสกับหญิงไทยชื่อนางนกเอี้ยง ซึ่งมีผู้สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นธิดาขุนนาง ครั้งแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ หรือเป็นธิดาของเจ้าเมืองเพชรบุรี
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงพระราชสมภพ ณ วันอาทิตย์ เดือน 5 ขึ้น 15 ค่ำ ปีขาล จุลศักราช 1096 ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พุทธศักราช 2277 ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาที่ 3 พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ หลักฐานส่วนใหญ่เชื่อว่า ทรงเคยเป็นพ่อค้าเกวียนผู้ทรงปัญญาเฉลียวฉลาด และมีความสามารถพิเศษด้านกฎหมาย ช่วยกรมการเมืองชำระถ้อยความ ของราษฎรทางภาคเหนืออยู่เนือง ๆ มีความชอบในแผ่นดิน ต่อมาได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งเป็นเจ้าเมือง ตำแหน่งพระยาตาก
ระหว่างเวลา 15 ปีที่ทรงครองราชสมบัติ พระองค์ทรงรวบรวมชุมชนไทย ที่ตั้งตัวเป็นชุมนุมต่าง ๆ เข้าด้วยกันเป็นปึกแผ่น และรวมอาณาใกล้เคียงเข้าเป็นส่วนหนึ่ง ของพระราชอาณาจักรธนบุรีด้วย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2325 พระชนม์พรรษาได้ 48 ปี ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียว ในประวัติศาสตร์สมัยธนบุรี

person_thon_02

กัปตันเหล็ก(ฟรานซิส ไลท์)

กัปตันเหล็ก เป็นพ่อค้าชาวอังกฤษที่เข้ามามีบทบาทในกิจการค้าขายในแถบหัวเมือง มลายู ระหว่างรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทำความดีความชอบ โดยการจัดหาอาวุธปืนมาถวายแก่พระมหากษัตริย์ไทย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จึงพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็น “พระยาราชกปิตัน” บางครั้งจึงเรียกเป็นพระยาราชกปิตันเหล็ก
กัปตันเหล็ก หรือ ฟรานซิส ไลท์ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2283 ที่เมืองคัลลิงตัน ในซัฟฟอร์ค เคยเป็นนายทหารเรือแห่งราชนาวีอังกฤษ แต่ภายหลังหันมาทำการค้าขาย ได้มาตั้งบ้านเรือน ทำการค้าขายอยู่ที่เกาะถลาง เมื่อประมาณ พ.ศ. 2314 รู้จักสนิทสนมกับพระยาถลางภักดีภูธร และคุณหญิงจันทร์ ทั้งยังเป็นที่รู้จักนับถือของชาวเมืองทั่วไปด้วย ในปีถัดมาก็ได้สมรสกับ มาร์ติน่า โรเซลล์ สตรีเชื้อสายโปรตุเกสไทยและมาเลย์ มีบุตร 5 คน ชื่อ ซาร่าห์ วิลเลียม แมรี่ แอน และฟรานซิส
ในปี พ.ศ. 2319 กัปตันเหล็กได้ส่งปืนนกสับ เข้ามาถวายสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และภายหลังได้เป็นผู้ติดต่อซื้ออาวุธ ให้แก่ทางราชการ พร้อมๆ กับทำหน้าที่เป็นกำลังสำคัญให้อังกฤษ ได้เจรจากับสุลต่านแห่งไทรบุรี ขอเช่าเกาะปีนังเป็นผลสำเร็จในปี พ.ศ. 2329 จึงได้รับแต่งตั้งจากรัฐบาลอังกฤษ ให้เป็นผู้ว่าราชการเกาะปีนัง และตั้งชื่อเกาะปีนังใหม่ว่าเกาะปริ้นซ์ ออฟ เวลส์ (Prince of Wales Islands) กัปตันเหล็กได้ถึงแก่กรรมใน พ.ศ. 2337

wat007

กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท

กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงเป็นนักรบที่สามารถและเป็นกำลังของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในการกอบกู้อิสรภาพ และยังทรงเป็นกำลังสำคัญของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในการปกป้องประเทศ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้เฉลิมพระนามาภิไธยเป็น สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท มีพระนามเดิมว่า บุญมา เป็นพระอนุชาร่วมพระราชชนกชนนี กับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ประสูติใน พ.ศ. 2286 ในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา ได้รับราชการตำแหน่งนายสุจินดามหาดเล็กหุ้มแพร ในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวสุริยามรินทร์ ภายหลังกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าใน พ.ศ. 2310 แล้ว ได้ไปอยู่ที่เมืองชลบุรี ครั้นได้ทราบข่าวว่าพระยาตาก มาตั้งมั่นรวบรวมผู้คนอยู่ที่เมืองจันทบุรี จึงพาผู้คนไปเป็นพรรคพวก และได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระมหามนตรี
เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ พระมหามนตรีได้ตามเสด็จ มารับราชการยังกรุงธนบุรี และได้แสดงความสามารถในราชการสงครามจนเป็นที่ประจักษ์ หลังจากศึกปราบชุมนุมเจ้าพิมายใน พ.ศ. 2311 จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาอนุชิตราชา จางวางพระตำรวจฝ่ายซ้าย ต่อมาใน พ.ศ. 2313 ก่อนหน้าการปราบชุมนุมเจ้าพระฝางและหัวเมืองพิษณุโลก พระยายมราชในขณะนั้นได้ถึงแก่กรรม พระยาอนุชิตราชาจึงได้เลื่อนเป็นที่พระยายมราช จากนั้นเมื่อเสร็จศึกหัวเมืองฝ่ายเหนือ ได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราช อยู่ครองเมืองพิษณุโลก บังคับบัญชาการป้องกันพระราชอาณาจักรทางหัวเมืองฝ่ายเหนือ ในช่วงหลังได้มีราชการสงครามครั้งสำคัญอีก 2 ครั้งคือ ที่เมืองเวียงจันทน์ ใน พ.ศ. 2321 และที่กัมพูชาอันเป็นศึกในช่วงสุดท้ายที่เกิดขึ้นเวลาเดียวกับที่กรุงธนบุรีเกิดการจลาจล เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกปราบดาภิเษกแล้ว ได้ทรงดำรงตำแหน่งเป็น กรมพระราชวังบวรสถานมงคล และได้ทิวงคต เมื่อ พ.ศ. 2346

person_thon_04 (1)

เจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงฉิม

เจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงฉิม เจ้าจอมในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีฐานันดรศักดิ์เป็นเจ้าหญิง เนื่องจากเป็นพระธิดาองค์ใหญ่ในเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (หนู) หัวหน้าชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จยกทัพไปปราบชุมนุม เจ้านครศรีธรรมราชนั้น เจ้าพระยานครศรีธรรมราชหนีไปพึ่งเจ้าพระยาตานี แต่ถูกคุมตัวส่งมาจำขังไว้ที่ธนบุรี และได้ถวายพระธิดาเป็นข้าบาทบริจาริกา เจ้าหญิงฉิมได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้า ให้เป็นพระสนมเอกที่กรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ ต่อมาได้เป็นเจ้าจอมมารดาในสมเด็จเจ้าฟ้าชายทัศพงศ์ สมเด็จเจ้าฟ้าชายทัศไภย สมเด็จเจ้าฟ้าชายนเรนทรราชกุมาร และสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงปัญจปาปี ซึ่งภายหลังในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระราชโอรสทั้งสามถูกลดพระยศเป็นที่พระพงษ์นรินทร์ พระอินทรอภัยและพระนเรนทราชา ตามลำดับ เจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงฉิมสิ้นพระชนม์ปีใดไม่ปรากฏหลักฐาน

person_thon_06

เจ้าพระยาจักรี (แขก)

เมื่อกรุงศรีอยุธยาใกล้แตก เจ้าพระยาจักรี (แขก) ข้าราชการชาวมุสลิม ซึ่งขณะนั้นเป็นหลวงนายศักดิ์ ชื่อเดิม “หมุด” ไปราชการที่จันทบุรี หลังจากพม่าตีกรุงศรีอยุธยาแตกแล้ว จึงตกค้างอยู่ ณ เมืองจันทบุรี และได้มาเฝ้าถวายตัว กับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รับราชการงานทั้งปวง ด้วยเป็นข้าราชการเก่า รู้ขนบธรรมเนียมอย่างดี นอกจากนั้น ยังเป็นหนึ่งในกำลังสำคัญ ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นแม่ทัพไปตีเมืองต่างๆ ที่ไม่ยอมอ่อนน้อมในคราวปราบชุมนุมต่างๆ รวมทั้งเมืองนครศรีธรรมราชด้วย เจ้าพระยาจักรี (แขก) ถึงแก่อสัญกรรมในปีเถาะ พ.ศ. 2314

เจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรานุชิต

เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราช ประสูติแต่ เจ้าฟ้าฉิมใหญ่ (เจ้าครอกหญิงใหญ่) พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อ พ.ศ. 2322 หลังจากประสูติ ได้ 12 วัน พระราชมารดาก็สิ้นพระชนม์ ได้รับพระนามเมื่อประสูติว่า เจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์ แต่คนทั่วไปเรียกว่า เจ้าฟ้าเหม็น ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงอยู่ในฐานะพระราชนัดดา ได้รับพระราชทานนามใหม่ว่า เจ้าฟ้าอภัยธิเบศร์ พวกข้าราชการเรียกพระนามโดยย่อว่า “เจ้าฟ้าอภัย” รัชกาลที่ 1 ทรงเห็นว่าไปพ้องกับพระนามเจ้าฟ้า 2 พระองค์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาจึงโปรด พระราชทานนามใหม่เป็น เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานพระยศเป็น เจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรานุชิต ทรงมีวังที่ประทับอยู่ที่ถนนหน้าพระลานด้านตะวันตกที่เรียกว่า “วังท่าพระ”
เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จขึ้นครองราชย์ เจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรานุชิต คิดการกบฏ แต่ถูกจับได้ หลังจากไต่สวนได้ความเป็นจริงพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้นภาลัย จึงโปรด ให้ชำระโทษถอดพระยศ แล้วนำไปประหารที่วัดปทุมคงคา ส่วนผู้ร่วมคิดการกบฏคนอื่น ๆ ได้ถูกประหารชีวิตที่สำเหร่ ในครั้งนั้น พระโอรสพระธิดา ในเจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรานุชิตถูกสำเร็จโทษด้วย จึงไม่มีผู้สืบสายสกุล

 เจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง)

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ มีพระนามเดิมว่า ด้วง ประสูติในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันพุธ แรม 5 ค่ำ เดือน 4 ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279
ครั้นเมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าแล้ว และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้สถาปนาเมืองธนบุรี ขึ้นเป็นราชธานี จึงได้เข้ามารับราชการในกรุงธนบุรี โดยได้รับการชักชวนจากน้องชายคือ นายสุจินดา หรือ บุญมา (กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท) ซึ่งรับราชการใกล้ชิดอยู่กับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมาแต่ก่อนแล้ว ทำให้ได้เข้ารับราชการในตำแหน่งที่สูงขึ้น คือ ได้เป็นพระราชวรินทร์ สังกัดในกรมพระตำรวจใน พ.ศ. 2311
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงเป็นแม่ทัพคู่พระทัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในราชการศึกสงครามหลายครั้งหลายคราว ตลอดสมัยกรุงธนบุรี ราชการทัพสำคัญของพระองค์ใน พ.ศ. 2323 เกิดจลาจลขึ้นในกัมพูชา เสด็จเป็นแม่ทัพไปปราบปรามแต่ยังไม่ทันสำเร็จเรียบร้อย ทางกรุงธนบุรีเกิดการจลาจล จึงต้องรีบยกทัพกลับมาปราบปรามระงับเหตุวุ่นวายในกรุงธนบุรี จนสงบราบคาบ ข้าราชการและราษฎรทั้งปวง พร้อมใจกันอัญเชิญเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกขึ้นครองราชสมบัติ เป็นปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 ขณะมีพระชนมายุได้ 45 พรรษา

ดาวน์โหลด (2)

พระยาพิชัยดาบหัก

พระยาพิชัย มีชื่อเดิมว่า จ้อย ต่อมาได้ชื่อว่า “ทองดี” เป็นบุตรชาวนา อยู่บ้านห้วยคา เมืองพิชัย (ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดอุตรดิตด์) ได้ศึกษาวิชามวยกับครูที่มีชื่อหลายคน ออกชกมวย จนมีชื่อเสียง และได้หัดฟันดาบที่สวรรคโลกจนเก่งกล้า
เมื่อมีโอกาสได้ไปเมืองตาก เป็นช่วงที่มีงานถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา และมีมวยฉลองด้วยพอดี นายทองดี หรือที่ได้รับสมญาเรียกว่านายทองดีฟันขาว ก็เข้าเปรียบกับมวยชั้นครูและชกชนะสองคนรวด พระเจ้าตากเห็นฝีมือนายทองดีฟันขาวเช่นนั้น ก็ทรงชวนให้ไปอยู่ด้วย ต่อมาได้รับราชการเป็นหลวงพิชัยอาสา
ในพระราชพงศาวดารได้กล่าวถึงช่วงก่อนสิ้นกรุงศรีอยุธยาว่า เมื่อครั้งพระยาตาก (สิน) ตีฝ่าวงล้อมพม่าออกมา หลวงพิชัยอาสาเป็นกำลังตีฝ่ากองทัพพม่าออกไปด้วย
หลังจากที่ซ่องสุมผู้คน และเตรียมกำลังรบอยู่ที่เมืองจันทบุรี จนพอเหมาะแก่การรุกไล่ทัพพม่าแล้ว พระเจ้าตากจึงยกกองทัพเรือขึ้นมาตีเมืองธนบุรีได้ แล้วให้หลวงพิชัยอาสา เป็นทัพหน้ายกขึ้นไปตีค่ายโพธิ์สามต้นได้สำเร็จ ครั้นเมื่อพระเจ้าตากได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้หลวงพิชัยอาสาเป็นเจ้าหมื่นไวยวรนาถ ทหารเอกราชองครักษ์

ตลอดระยะเวลาที่ทำสงครามปราบชุมนุมต่าง ๆ เพื่อรวมไทยให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนั้น หลวงพิชัยอาสาหรือเจ้าหมื่นไวยวรนาถ ได้ถือดาบออกหน้าทหารอย่างกล้าหาญสู้อย่างเต็มความ สามารถ จนได้เลื่อนเป็นพระยาสีหราชเดโช และเป็นพระยาพิชัยได้ครองเมืองพิชัยในที่สุด
เมื่อพระยาพิชัยเป็นเจ้าเมืองพิชัยอยู่นั้น โปสุพลาได้ยกทัพลงมาตีเมืองพิชัย คราวนั้นพระยาพิชัย ได้ถือดาบสองมือ คุมทหารออกต่อสู้ป้องกันพม่าจนดาบหัก เป็นที่เลื่องลือจนได้นามว่า “พระยาพิชัยดาบหัก” ชีวิตราชการของพระยาพิชัยดาบหักน่าจะรุ่งเรือง และเป็นกำลังป้องกันบ้านเมือง ได้เป็นอย่างดีในแผ่นดินต่อมา หากแต่พระยาพิชัยดาบหักเห็นว่าตัวท่าน เป็นข้าหลวงเดิมของพระเจ้าตาก เกรงว่านานไปจะเป็นที่ระแวงของพระเจ้าแผ่นดิน และจะหาความสุขได้ยาก ประกอบกับมีความเศร้าโศกอาลัย ในพระเจ้าตากอย่างมาก จึงได้กราบทูลว่าจะขอตายตามสมเด็จพระเจ้าตาก ดังนั้นจึงได้ถูกประหารชีวิต เมื่ออายุได้ 41 ปี พระยาพิชัยดาบหัก เป็นต้นตระกูล วิชัยขันธะ

หลวงพิชัยราชา

หลวงพิชัยราชาเป็นนายทหารผู้หนึ่ง ที่ได้ติดตามพระเจ้าตาก ตีฝ่าวงล้อมของพม่าไปสะสมผู้คนที่เมืองระยอง และเป็นทูตนำอักษรสาร ไปเกลี้ยกล่อมพระยาราชาเศรษฐี ณ เมืองพุทไธมาศ ให้มาเข้าเป็นพวกได้สำเร็จ ภายหลังเมื่อพระเจ้าตากปราบเมืองจันทบุรีได้แล้ว หลวงพิชัยราชามีหน้าที่ควบคุมดูแลการต่อเรือรบ และเป็นกองหน้า ตีตะลุยขับไล่พม่าตั้งแต่เมืองธนบุรีไปจนถึงโพธิ์สามต้น
หลวงพิชัยราชาได้เป็นทหารเอกของพระเจ้าตากตลอดมา จนเมื่อพระเจ้าตากปราบดาภิเษกขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้ทรงพระกรุณาสถาปนาหลวงพิชัยราชาขึ้นเป็นเจ้าพระยาพิชัยราชา ต่อมาเมื่อตีเมืองสวางคบุรีได้แล้ว ได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาพิชัยราชาเป็นเจ้าพระยาสวรรคโลก ครองเมืองสวรรคโลก ครั้นเมื่อคราวโปสุพลาและโปมะยุง่วน หนีออกจากเมืองเชียงใหม่ได้ ทางด้านค่ายเจ้าพระยาสวรรคโลก เจ้าพระยาสวรรคโลก จึงต้องโทษโบย 50 ที และเข้าใจว่าคงจะถูกย้ายเข้ามารับราชการในกรุงธนบุรีตั้งแต่นั้น จนกระทั่งถึงอสัญกรรมในราวปี พ.ศ. 2319

โบราณสถานและสถานที่สำคัญในสมัยกรุงธนบุรี

วัดอรุณ

วัดอรุณราชวราราม

วัดอรุณราชวรารามหรือวัดแจ้ง เดิมชื่อวัดมะกอก เป็นวัดโบราณที่มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา โดยปรากฏในแผนผังเมืองและป้อม ที่ชาวต่างชาติเขียนไว้ ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เล่ากันว่าเหตุที่วัดมะกอก ได้รับพระราชทานนามใหม่ว่าวัดแจ้งนั้น สืบเนื่องมาจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ทรงล่องเรือมาตามลำน้ำเจ้าพระยา เพื่อหาชัยภูมิที่ตั้งพระนครแห่งใหม่ และเมื่อถึงบริเวณวัดมะกอกนั้นเป็นเวลารุ่งแจ้งพอดี ซึ่งถือว่าเป็นมงคลฤกษ์ จึงหยุดนำไพร่พลขึ้นพัก และได้เลือกบริเวณนั้นเป็นราชธานีแห่งใหม่ วัดแห่งนี้จึงกลายเป็นวัดในเขตพระราชฐาน จากนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาใหม่ทั้งพระอาราม มีพระประสงค์จะให้เป็นเขตพุทธาวาสแบบเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ของกรุงศรีอยุธยา แล้วพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดแจ้ง” เพื่อให้มีความหมายถึงการที่เสด็จถึงวัดนี้ในตอนรุ่งอรุณ
วัดแจ้งจึงได้มีฐานะเป็นพระอารามหลวง สำคัญของแผ่นดินมาตลอดสมัยธนบุรี เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก อัญเชิญพระแก้วมรกตมาจากเวียงจันทน์ ใน พ.ศ. 2322 ก็ได้มีการ สมโภช และประดิษฐานไว้ ณ วัดแห่งนี้
ในปลายรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อพระยาสรรค์ก่อการกบฏขึ้น สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงถูกคุมพระองค์มาผนวชที่วัดนี้ รวมทั้งถูกจับสึกที่วัดนี้เช่นกัน เพื่อนำไปสำเร็จโทษที่ป้อมวิไชยประสิทธิ์ในเวลาต่อมา
เมื่อถึงสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้ย้ายราชธานีมายังฝั่งตรงข้ามกับกรุงธนบุรีเดิม พร้อมทั้งอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐาน ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และให้อาราธนาพระสงฆ์ผู้ใหญ่จากวัดบางว้าใหญ่ หรือวัดระฆังโฆษิตาราม มาครอง พร้อมกันนั้นก็โปรดให้ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยซึ่งเสด็จไปประทับ ณ พระราชวังเดิม เป็นองค์อุปถัมภ์วัดแจ้งด้วย ซึ่งพระองค์ได้ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดแจ้งใหม่หมดทั้งหมด (ขณะนั้นยังดำรงอิศริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร) มีวิวัฒนาการเป็นแบบไทยอย่างสมบูรณ์ ประดับผิวภายนอกด้วยกระเบื้องเคลือบทั้งหมด มีความสูงถึง 67 เมตร จากเดิมที่สูงประมาณ 15 เมตร

วัดโม

 วัดโมลีโลกยาราม

วัดโมลีโลกยาราม หรือ วัดท้ายตลาด เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร เป็นวัดที่สร้างในสมัยอยุธยา แต่ไม่ปรากฏนามผู้สร้าง และเหตุที่เรียกว่า วัดท้ายตลาด เนื่องจากอยู่ต่อจากตลาดเมืองธนบุรี ปัจจุบันชาวบ้านยังนิยมเรียกชื่อนี้อยู่
ในสมัยธนบุรี วัดนี้เป็นวัดในเขตพระราชฐาน จึงไม่มีพระสงฆ์อยู่ตลอดช่วงรัชกาล ส่วนพระวิหาร สันนิษฐานว่าได้ใช้เป็นฉางเกลือของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ภายในพระวิหารกั้นเป็น 2 ตอน ปัจจุบัน ตอนหน้าที่หันออกคลองบางกอกให้ ประดิษฐานพระพุทธรูปเป็นหมู่บนฐานชุกชี ส่วนตอนหลังเป็นพื้นที่ค่อนข้างแคบ ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ ในรัชกาลที่ 3 ได้รับการปฏิสังขรณ์ใหม่ทั่วทั้งพระอาราม และทรงเปลี่ยนนามใหม่ว่า “วัดโมลีโลกสุธาราม” ภายหลังมาเรียกกันว่า “วัดโมลีโลกยาราม”

วัดอิน

วัดอินทารามวรวิหาร

วัดอินทารามวรวิหาร เป็นวัดโบราณที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ชาวบ้านเรียกว่า “วัดบางยี่เรือนอก” หรือ “บางยี่เรือไทย” หรือ “วัดสวนพลู”(ที่เรียกว่าวัดสวนพลู เนื่องจากแต่เดิม ที่ดินใกล้เคียงกับวัดเป็นสวนปลูกพลู) เพราะหากล่องเรือมาจากอยุธยา จะถึงวัดอินทารามหลังสุดในบรรดาวัดที่ตั้งเรียงกันอยู่ 3 วัด ขณะที่จะเรียกวัดราชคฤห์ว่า “บางยี่เรือใน” และวัดจันทารามว่า “บางยี่เรือกลาง”
วัดอินทารามเป็นวัดหลวงสำคัญอันดับหนึ่ง ในแผ่นดินกรุงธนบุรี จัดว่าเป็นวัดประจำรัชกาล ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งได้ทรงบูรณะเป็นพระอารามหลวงชั้นหนึ่ง ทรงสร้างหมู่กุฏิและถวายที่ดิน ให้เป็นธรณีสงฆ์เป็นจำนวนมาก แล้วโปรดให้นิมนต์พระเถระ ฝ่ายวิปัสสนามาจำพรรษา เพราะมีพระราชประสงค์ จะให้เป็นศูนย์กลางฝึกสมาธิทางวิปัสสนากรรมฐานของประเทศ และใช้ประกอบงานพระราชพิธีสำคัญๆ ต่างๆ มีพระเจดีย์กู้ชาติคู่หนึ่ง ตั้งอยู่หน้าพระอุโบสถหลังเก่า ภายในเชื่อกันว่าบรรจุพระบรมอัฐิ ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและพระอัครมเหสี ส่วนพระอุโบสถหลังเก่า มีพระพุทธรูปปางตรัสรู้เป็นพระประธานของพระอุโบสถ บรรจุพระบรมราชสรีรังคาร หรือ เถ้ากระดูกของพระองค์

budd2386

 วัดราชคฤห์

วัดราชคฤห์ หรือ วัดบางยี่เรือใน มีฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ฝ่ายมหานิกาย เป็นวัดที่สร้างโดยนายกองมอญในสมัยอยุธยาตอนปลาย ดังนั้นบางคราวจึงเรียก “วัดบางยี่เรือมอญ” หรือ “วัดมอญ”นอกเหนือไปจากชื่อ “บางยี่เรือใน” หรือ “บางยี่เรือเหนือ”
ในสมัยกรุงธนบุรี เข้าใจว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้โปรดฯ ให้มีการบูรณะซ่อมแซม เพราะเชื่อกันว่าพระยาพิชัยดาบหัก ทหารเอกและแม่ทัพคนสำคัญในแผ่นดินกรุงธนบุรี เป็นผู้สร้างพระอุโบสถ ซึ่งปัจจุบันคือพระวิหารใหญ่ และพระเจดีย์ที่ตั้งอยู่ด้านหน้า ส่วนภูเขาจำลองสร้างขึ้นในรัชกาลที่ 1 ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของพระมณฑป ประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง สำหรับให้ประชาชนได้สักการะเป็นงานประจำปีของวัด พระมณฑปนี้สร้างขึ้นภายหลังในช่วงปลายรัชกาลที่ 3 โดยเริ่มที่วัดนี้เป็นแห่งแรก และได้เป็นที่นิยมสร้างกันต่อมา

วัดระฆัง

 วัดระฆังโฆสิตาราม

วัดระฆังโฆสิตาราม หรือ วัดบางว้าใหญ่ เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรมหาวิหาร เป็นวัดโบราณที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดให้อาราธนาพระอาจารย์ศรีขึ้นมาจากนครศรีธรรมราช ทรงสถาปนาให้เป็นสมเด็จพระสังฆราช และประจำที่วัดนี้ รวมทั้งมีการเสาะหาพระไตรปิฎกจากภาคใต้ และที่อื่นๆ มากระทำสังคายนาตรวจทาน เพื่อใช้เป็นฉบับหลวงที่วัดนี้ แต่ยังไม่ทันได้สำเร็จก็สิ้นรัชกาลเสียก่อน อย่างไรก็ตาม การครั้งนี้ก็ได้เป็นประโยชน์ต่อการสังคายนาพระไตรปิฎกในรัชกาลต่อมา
เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชสวรรคตแล้ว พระตำหนักทอง ที่ประทับของพระองค์ในพระราชวังเดิม ได้ถูกรื้อมาปลูกเป็นพระตำหนักที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช (ศรี) ที่วัดแห่งนี้ ตามประเพณีที่ถือปฏิบัติกันมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา แต่ได้ถูกไฟไหม้ไปในรัชกาลที่ 3 พร้อมๆ กับพระอุโบสถหลังเดิมและหมู่กุฏิสงฆ์ ส่วนพระตำหนักแดงซึ่งเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศน์ พระโอรสในกรมพระยาเทพสุดาวดี ทรงถวายให้กับวัดนี้ แต่เดิมที่ฝาประจันของพระตำหนัก มีภาพซากศพและภิกษุเจริญกรรมฐานเขียนอยู่ ซึ่งขณะนี้ได้เลือนไปหมดแล้ว สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้สันนิษฐานไว้ว่า น่าจะเคยเป็นที่ประทับทรงกรรมฐาน ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมาก่อน

images (1)

วัดหงส์รัตนาราม

วัดหงส์รัตนาราม เดิมเรียกกันว่าวัดเจ๊สัวหง สร้างโดยเศรษฐีชาวจีนในสมัยอยุธยา ในสมัยกรุงธนบุรีสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ทรงรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ ทรงสถาปนาพระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ และกุฎิ ในคราวเดียวกับที่ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดอินทารามวรวิหาร(วัดบางยี่เรือนอก) เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสวรรคตไปแล้ว ประชาชนผู้เคารพนับถือพระองค์ได้พร้อมใจกันสร้างศาลขึ้น เรียกกันว่า ศาลเจ้าพ่อตากสินวัดหงส์ เป็นที่สักการะบูชาของประชาชนโดยทั่วไป ต่อมาสมเด็จกรมพระศรีสุริเยนทรามาตย์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมจนสำเร็จบริบูรณ์

กุฎีฝรั่ง (กุฎีจีน)

กุฎีฝรั่ง คือบริเวณที่ปัจจุบันเรียกว่ากุฎีจีน เดิมนั้น “กุฎีจีน” ใช้เรียกบริเวณด้านใต้ของปากคลองบางกอกใหญ่ ซึ่งเป็นชุมชนของชาวจีนจากอยุธยาที่กระจัดกระจายไปเมื่อเสียกรุง และอพยพมาเมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงตั้งธนบุรีเป็นราชธานี ยังปรากฏศาลเจ้าเกียนอันเก๋งตั้งอยู่จนถึงเดี๋ยวนี้ และเป็นที่สักการะของคนทั่วไป
ส่วนกุฎีฝรั่ง เป็นพื้นที่บริเวณต่อเนื่องจากทางใต้ของกุฎีจีน เป็นหมู่บ้านของพวกฝรั่งเชื้อสายโปรตุเกส ที่มาสร้างค่ายรักษาป้อมบางกอก ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และพระเจ้าตากสินมหาราช ได้พระราชทานปักปันที่ดินบริเวณนี้ให้ใน พ.ศ. 2312
คนในชุมชนนี้มิได้มีลักษณะเป็นฝรั่งชัดเจนอีกแล้ว คงเพราะได้มีการสมรสกับชาวไทย นับเนื่องมาถึงปัจจุบันเป็นเวลาหลายชั่วอายุคน แต่ยังคงเป็นชุมชนที่นับถือคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก อย่างเคร่งครัด โบสถ์ซางตาครูส ของชุมชน เป็นโบสถ์ซึ่งสร้างขึ้นครั้งแรกในสมัยกรุงธนบุรี เมื่อทรุดโทรมลงได้สร้างขึ้นใหม่โดยสังฆราชปาเลอกัว ใน พ.ศ. 2377 และต่อมาใน พ.ศ. 2456 บาทหลวงกูเลียลโม กิ๊น ดาครู้ส ได้สร้างอาคารหลังที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน แทนหลังเก่าที่ทรุดโทรม
พวกโปรตุเกสเมื่อเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาก็ได้นำวัฒนธรรมในเรื่องอาหาร โดยเฉพาะขนมเข้ามาด้วย เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง และสังขยา เพราะขนมไทยแบบดั้งเดิมนั้น จะประกอบด้วย แป้ง น้ำตาล และมะพร้าวเป็นหลัก ส่วนพวกที่ผสมด้วยไข่และ นมเนยเป็นขนมของต่างชาติ ชุมชนนี้มีขนมที่มีชื่อเสียงคือ ขนมฝรั่ง ซึ่งคงเพราะเดิมฝรั่งเป็นผู้ทำ จึงเรียกกันมาจนเป็นชื่อขนม

สถานที่ท่องเที่ยวในเขตธนบุรี

ตากสิน

พระบรมราชานุเสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

พระบรมราชานุเสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ วงเวียนใหญ่เป็นพระบรมราชานุเสาวรีย์ที่ออกแบบและหล่อโดยศาสตราจารย์ ศิลป พีระศรี ซึ่งเป็นพระบรมรูปทรงเครื่องกษัตริย์ ประทับบนหลังม้า ทรงพระมาลา เบี่ยงหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้สู่จันทรบุรี พระหัตถ์ขวา ทรง พระแสงดาบชูออกไปเหนือพระเศียร พระหัตถ์ซ้ายทรงบังเหียน ท่านำพลรุกไล่ข้าศึก การเดินทางมาวงเวียนใหญ่นั้น เดินทางโดยทางบกจะสะดวกกว่าทางอื่น

พระราชวัง

พระราชวังเดิม

ตั้งอยู่ใกล้กับป้อมวิไชยประสิทธิ์ สมเด็จพระเจ้า กรุงธน บุรี ทรงสร้างเมื่อสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีใน พ.ศ. 2311 โดยใช้พื้นที่ในบริเวณกำแพงป้อมวิไชยเยนทร์ ทางฝั่งตะวันตก ของแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นที่ตั้งของพระราชวัง ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้ทรงย้ายพระนคร มาตั้งทางฝั่งตะวันออก จึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้รื้อกำแพงพระนครฝั่งตะวันตก และกำหนดเขต พระราชวังเดิมให้แคบลง เพื่อใช้เป็นที่ประทับ ของพระราชวงศ์ชั้นสูง จนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรม พระจักรพรรดิพงศ์ ซึ่งได้ประทับเป็นพระองศ์สุดท้ายสิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทาน พระราชวังเดิมให้แก่กรมทหารเรือเพื่อจัดตั้งโรงเรือนายเรือ โดยมีพระประสงค์ให้รักษาอาคารที่สำคัญบางแห่งไว้ ได้แก่ ท้องพระโรง ตำหนักเก๋งคู่หลังใหญ่ ตำหนักเก๋งคู่กลังเล็ก ตำหนักเก๋งพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

วัดโมลีโลกยาราม

เดิมชื่อวัดท้ายตลาด เป็นวัดโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา แต่ในสมัยรัชกาลที่ 1 ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯให้นิมนต์พระสงฆ์มาอยู่วัดนี้ สมัยรัชกาลที่ 2 ทรงปฎิสังขรณ์ และพระราชทานนามว่า”วัดพุทไธสวรรย์” ภายหลังจึงเปลี่ยนมาเป็น ” วัดโมลีโลกยาราม” ในสมัย รัชกาลที่ 3
ภายในพระอารามมีพระตำหนักสมเด็จ พระพุทธโฆษาจารย์ ซึ่งมีรูปปูนปั้นทหารฝรั่งเศส สมัยสมเด็จ พระนารายณ์มหาราช ที่ค้นพบในป้อมวิไชยประสิทธิ์ ถูกเก็บรักษาไว้และยังมีหมู่กุฎีสงฆ์สร้างด้วยไม้เรียงราย อยู่ริมคลองบางกอกใหญ่ มีลักษณะแบบศิลปะจีนผสมไทย เป็นแบบที่แปลกและใหญ่โตไม่เหมือนที่ใด เปิดเวลา 06.00-17.00 น. โทร. 0-2472-3183 วัดโมลีโลกยารามตั้งอยู่ซอยแยกจาก ถนนอรุณอมรินทร์ช่วงปากทางคลองบางกอกใหญ่

บ้านบุ

บ้านบุเป็นชุมชนเก่าอยู่ริมคลองบางกอกน้อยทางเหนือ ของสถานีรถไฟ เดิมชาวบ้านมีอาชีพทำเครื่องทองลงหินมาหลายชั่วอายุคน ดังมีชื่อปรากฏในนิราศพระแท่นดงรังของนายมี ซึ่งแต่งไวตั้งแต่ พ.ศ. 2379 เล่ากันว่าชุมชนนี้อพยพมาจากอยุธยาครั้งกรุงศรีอยุธยาแตก แต่นักวิชาการบางกลุ่มเชื่อว่าเป็นชุมชนที่อพยพมาจากเวียนจันทน์ ในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น อย่างไรก็ตามเครื่องทองลงหินนี้เป็นงาน หัตถกรรมที่มีชื่อเสียงของไทยอย่างหนึ่ง แต่เดิมจะซื้อทองม้าฬ่อ อันเป็นพวกฆ้อง โล่แตกๆ จากเมืองจีน มาหลอมใหม่เป็นขันน้ำพานรอง ถาด เครื่องดนตรีไทย หรือหล่อเป็นลำกล้องปืนใหญ่ ตลอดจนหล่อ เป็นพระพุทธรูป ต่อมาเมื่อทราบส่วนประกอบ ของทองม้าฬ่อ ว่าประกอบด้วยทองแดงและดีบุก จึงไม่ต้องสั่งโลหะมาหลอมใหม่อีก ปัจจุบันเมื่อผ่านไปย่านนี้ก็ยังพอจะได้ยินเสียงฆ้อนทุบขัน หรือเครื่องหล่อให้เรียบดังอยู่บ้าง แม้จะเหลือทำเป็นอุตสาหกรรม อยู่เพียงกี่ครัวเรือนการเดินทางสามารถมาได้ทั้งทางบกและ ทางน้ำซึ่งสามารถนั่งเรือหางยาว สายบางใหญ่ จากท่าช้างแล้วมาลง ที่ท่าน้ำของเขตบางกอกน้อย ส่วนทางบกสามารถเดินทางไปบ้าน บุด้วยรถยนต์โดย อาศัยเส้นทาง ถนนจรัญสนิทวงศ์ได้สะดวกมาก

ดาวน์โหลด (3)

ตลาดพลู

ตลาดพลูเป็นชื่อที่ได้จากการเป็นศูนย์กลางการค้าขาย หมากพลูของบางกอกสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เดิมตลาดขายหมาก พลูตั้งเรียงรายริมฝั่งคลองบางหลวง ตั้งแต่วัดราชคฤห์ไปจรด วัดอินทาราม ลึกเข้าไปด้านหลังวัด (ปัจจุบันคือด้านหน้า วัดติดถนนเทอดไท ) เป็นสวนพลูสวนหมากของชาวจีนแหล่งใหญ่ สุดในบางกอก ผู้สนใจอยากสัมผัสกับบรรยากาศดั้งเดิมสามารถ เดินเที่ยวลัดเลาะ ไปตามถนนเลียบ แม่น้ำข้างวัดดังกล่าว จะเห็นอาคารพาณิชย์ บ้านเรือนอาศัยแบบจีนที่มีลวดลายปูนปั้น กับลายไม้ฉลุประดับหลงเหลือให้ชมอยู่บ้าง และหากข้ามฟากถนนเทอดไท ลัดเลาะเข้าไปในซองตรงข้ามกับวัดราชคฤห์ (เทอดไท 21) มีโรงเจเซี่ยเข่งตั๊ว โรงเจเก่าแก่ของย่าน และเลยไปหลังสถานีรถไฟ ตลาดพลู มีศาลเจ้าตึกดินกับโรงเรียนสอน ภาษาจีนกงลี้จงซันอยู่ใน อาณาบริเวณเดียวกัน แม้เป็นสถานที่เก่าแก่แต่ได้รับการบูรณะ ใหม่แล้ว

ดาวน์โหลด (4)

โรงพยาบาลศิริราช

โรงพยาบาลศิริราช เดิมเรียกว่าโรงพยาบาลวังหลัง เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของเมืองไทย ที่มีการรักษาพยาบาล ผู้ป่วยด้วยการแพทย์สมัยใหม่ เกิดขึ้นจากพระราชดำริ ของพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายหลังจากที่ได้ทรงสูญเสีย พระราชโอรสคือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ เนื่องด้วยโรคบิดในขณะที่มีพระชันษาเพียง 1 ปี 7 เดือน พระองค์จึงได้พระราชทานพระราชพระราชทรัพย์ส่วน พระองค์เป็นค่าก่อสร้างโรงพยาบาลในพื้นที่ที่เคยเป็นที่ตั้งของ วังหลังและได้พระราชทานนาม เพื่อเป็นที่ระลึกถึงพระโอรส ผู้จากไป ในครั้งนั้นว่า “คิริราชพยาบาล” นอกจากจะเป็นโรงพยาบาลแล้ว ภายในยังเป็นที่ตั้ง ของพิพิธภัณฑ์ด้านการแพทย์ต่างๆ สำหรับให้นักศึกษาแพทย์ ใช้ศึกษา รวมทั้งเปิดให้ผู้สนใจทั่วไปเข้าชมการเดินทาง สะดวกทั้งทางน้ำและทางบก

Leave a comment